QR Code Traceability
ระบบตรวจสอบย้อนกลับ ด้วย QR Code
รับจัดทำระบบ Traceability
ราคา Call บาท
วิธีการตรวจสอบข้อมูล
ขั้นตอนสำหรับตรวจสอบแหล่งที่มา
1. เปิดเว็บไซต์ผ่านคอมพิวเตอร์หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่
2. กรอกรหัสชุดการผลิต หรือ Lot No. ที่ติดอยู่บนฉลากสินค้าเนื้อสัตว์ เมนูช่องการตรวจสอบข้อมูลแล้วคลิกค้นหา
3. ระบบจะทำการค้นหา และแสดงข้อมูลรายละเอียดของแหล่งที่มาของเนื้อสัตว์ทันที
การตรวจสอบข้อมูลผ่าน QR code
1. โหลดแอพพลิเคชั่น QR code reader และติดตั้งในโทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรือใช้ LINE
2. สแกนป้าย QR code บนฉลากสินค้าของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการตรวจสอบย้อนกลับฯ
3. ระบบจะทำการค้นหา และแสดงผลข้อมูลรายละเอียดของแหล่งที่มาของสินค้าได้ทันที
ระบบสืบค้นย้อนกลับ (Traceability) คืออะไร
ระบบสืบค้นย้อนกลับ คือ ระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการซื้อสินค้า เพื่อการบริโภคว่าสินค้าที่ซื้อไม่มีสิ่งปนเปื้อน มีความปลอดภัย โดยสามารถตรวจสอบเส้นทางของอาหารนั้น ๆ ได้ และช่วยลดความสูญเสียในการเรียกคืนสินค้าของบริษัทผู้ผลิต ให้เรียกคืนได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วในปริมาณที่ควรจะเป็น
โดยในระบบการสืบค้นย้อนกลับประกอบด้วย กระบวนการที่สำคัญ 2 กระบวนการ คือ กระบวนการติดตาม และกระบวนการสืบค้นย้อนกลับ
1. การติดตาม (Following) คือ ระบบที่จะสามารถติดตามได้ว่าสิ่งที่สนใจนั้น ไปอยู่ ณ ที่ใด เช่น ผู้ผลิตอาหารพบว่าวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอาหารล็อตหนึ่งมีปัญหา แต่สินค้าได้ถูกส่งไปจำหน่ายเรียบร้อยแล้ว ทางผู้ผลิตจึงมีความจำเป็นต้องมีการเรียกคืนสินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบล็อต ที่มีปัญหาคืนมาทั้งหมด ผู้ผลิตต้องติดตามเส้นทางการผลิต และการจัดจำหน่าย เพื่อจะได้ทราบว่าสินค้าที่มีปัญหามีการวางจำหน่ายอยู่ที่ใดบ้าง และสามารถเรียกคืนสินค้าได้อย่างถูกต้อง การดำเนินการดังกล่าว คือ การค้นหาปลายทางของสินค้านั่นเอง
2. การสืบค้นย้อนกลับ (Tracing) คือ ความสามารถสืบได้ว่าสินค้าที่มีปัญหาผลิตขึ้นเมื่อใด จากสายการผลิตไหน และรับวัตถุดิบมาจากแหล่งไหน ฯลฯ เพื่อค้นหาว่าจุดใดที่ก่อให้เกิดปัญหา และจุดที่ก่อให้เกิดปัญหาได้ผลิตสินค้าไปมากน้อยเพียงใด และมีข้อมูลรายละเอียดในขั้นตอนกรรมวิธีการผลิตอย่างไร เพื่อทำการติดตามสินค้าคืนได้อย่างถูกต้อง การดำเนินการดังกล่าว คือ การค้นหาต้นทางของสินค้าเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาปลายทางของสินค้าต่อไป
ประโยชน์ของระบบสืบค้นย้อนกลับ (Traceability)
ระบบการสืบค้นย้อนกลับเป็นมาตรการที่ประเทศคู่ค้าสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ได้กำหนดเป็นกฎระเบียบในการนำเข้าสินค้าให้ประเทศผู้ส่งออกต้องนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหาร และต้องการเป็นครัวของโลกจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมการให้มีการนำ ระบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร และอาหาร เพื่อรองรับสถานการณ์ทางการค้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนั้นการนำระบบการสืบค้นย้อนกลับไปประยุกต์ใช้ ยังก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกับผู้ผลิตสินค้าอาหาร และผู้บริโภคดังนี้
ประโยชน์ต่อผู้ผลิต
1. สามารถลดปริมาณการเรียกคืนสินค้าที่มีปัญหา โดยสามารถเรียกคืนเฉพาะสินค้าล็อตที่มีปัญหา
2. ช่วยในการป้องกันชื่อเสียงของบริษัทไม่ให้เสียหาย เช่น ในกรณีที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า จุดที่ก่อให้เกิดปัญหาไม่ได้เป็นเพราะขั้นตอนการผลิต แต่เป็นเพราะการจัดเก็บของผู้จัดจำหน่ายสินค้า
3. สามารถสืบค้นย้อนกลับ สืบค้นแหล่งที่มาของสินค้าได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และช่วยลดต้นทุนการเรียกคืนสินค้า
4. เป็นการรับประกันคุณภาพ และสามารถสืบค้นแหล่งที่มาของสินค้าได้ทั้งระบบของวงจรอาหาร
5. สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ว่าจะได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย
6. เพื่อเป็นการปฏิบัติให้ตรงตามกฎระเบียบการค้าของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
7. สามารถลดปริมาณการใช้กระดาษสำหรับการบันทึกข้อมูลได้
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
1. ลดความเสี่ยงที่ต้องบริโภคสินค้าที่มีปัญหา เช่น มีสารเคมีตกค้าง และจุลินทรีย์ปนเปื้อน เป็นต้น
แนวคิดในการจัดทำระบบสืบค้นย้อนกลับในอุตสาหกรรมอาหาร
การจัดทำระบบสืบค้นย้อนกลับ คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการผลิตสินค้าอาหาร เพื่อให้การค้นหาทั้งจากต้นทางไปหาปลายทาง และจากปลายทางมายังต้นทาง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความแม่นยำ และสอดคล้องกับค่าใช้จ่าย
ในกระบวนการสืบค้นย้อนกลับสินค้าอาหาร มีผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้กระบวนการมีความสมบูรณ์ ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป จนถึงการกระจายผลิตภัณฑ์อาหารสู่ผู้บริโภค ซึ่งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลักกับระบบสืบค้นย้อมกลับแบ่งออกได้ดังนี้
1. ผู้ผลิตวัตถุดิบ
2. ผู้ผลิตสินค้า
3. ผู้กระจายสินค้า
4. ผู้บริโภค
ผู้ผลิตวัตถุดิบ
ผู้ผลิตวัตถุดิบคือ ต้นกำเนิดของวัตถุดิบต่าง ๆ ในระบบห่วงโซ่ของอาหาร (Food Chain) โดยในกระบวนการผลิตวัตถุดิบนั้น จะมีขั้นตอนต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ ซึ่งผู้ปลูกจะต้องให้ความสำคัญตั้งแต่การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก การคัดเลือกพันธุ์ การลงมือเพาะปลูก การดูแลรักษาระหว่างเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว รวมถึงการนำส่งโรงงานเพื่อทำการแปรรูป ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจำเป็นต้องมีการเก็บรวบรวม และบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ไว้เพื่อการอ้างอิงในขั้นตอนต่อไป
ผู้ผลิตสินค้า
ผู้ผลิตสินค้า เป็นส่วนที่มีความซับซ้อนในการเก็บรวบรวมข้อมูล เนื่องจากในกระบวนการแปรรูปวัตถุดิบเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปนั้น ต้องมีส่วนประกอบ ( ingredient ) และวัตถุดิบอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยข้อมูลที่จำเป็นต้องมีการเก็บรวบรวม และบันทึกนั้น ประกอบด้วย การตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ การเก็บรักษาวัตถุดิบ การส่งวัตถุดิบเข้าสูสายการผลิตผ่านกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ จนถึงขั้นตอนสุดท้าย รวมทั้งการทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการแปรรูปวัตถุดิบ การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ และควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นต้น
ผู้กระจายสินค้า
ผู้กระจายสินค้า ทำหน้าที่กระจายสินค้าเพื่อการจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอนสำคัญ คือ การขนส่ง และจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค โดยทั้ง 2 ขั้นตอนนี้อาจเป็นหน่วยงานเดียวกัน ถ้าหน่วยงานนั้นมีขนาดใหญ่หรือต่างหน่วยงานกันก็ได้
สำหรับข้อมูลที่ต้องรวบรวม และจัดเก็บ เช่น รูปแบบของการขนส่ง วันเวลาที่ขนส่ง สถานที่ ระยะทาง และการส่งมอบสินค้า รวมทั้งการเก็บรักษาสินค้าก่อนถึงมือผู้บริโภค เป็นต้น
ผู้บริโภค
ผู้บริโภค คือ ผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่สินค้าอาหารมีสิ่งแปลกปลอม หรือเป็นสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ ดังนั้น ผู้บริโภคจึงต้องมีความรอบคอบในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทุกครั้ง
โดยหลักการของระบบสืบค้นย้อนกลับ ผู้บริโภคจะสามารถทราบถึงข้อมูลที่มาของสินค้าที่ตนเองบริโภคได้ โดยหากเกิดอันตรายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าอาหารนั้น ผู้บริโภคสามารถสืบค้นย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของสินค้าหรือตรวจสอบจากแหล่ง กำเนิดไปจนถึงผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายได้ ภายใต้การบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบในขั้นตอนต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น
ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการถ่ายโอนข้อมูลด้วยระบบอี เล็คทรอนิคส์ มาประยุกต์ใช้ ในระบบสืบค้นย้อนกลับจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคเป็นอย่างมาก
ระบบการสืบค้นย้อนกลับ (Traceability) ของสหภาพยุโรป
สหภาพยุโรปมีการบังคับใช้ระเบียบ เรื่อง การสืบค้นย้อนกลับหรือสืบแหล่งที่มาของอาหาร นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นมา สำหรับคำว่า การสืบค้นย้อนกลับหรือการสืบแหล่งที่มา ของสหภาพยุโรปตามระเบียบรัฐสภาและคณะมนตรียุโรป ที่ 178/2002 หมายถึง ความสามารถในการสืบค้นย้อนกลับ และติดตาม (trace and follow) อาหารมนุษย์ อาหารสัตว์ สัตว์ที่นำมาผลิตเป็นอาหารมนุษย์ หรือสารที่จะนำมารวมในอาหารมนุษย์หรืออาหารสัตว์ ตลอดจนทุกขั้นตอนการผลิต การแปรรูปและการจัดจำหน่าย ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการนำระบบการสืบค้นย้อนกลับมาใช้ในอาหาร คือ
- เพื่อให้สามารถสืบค้นย้อนกลับตัวผลิตภัณฑ์ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์นั้นอาจมีความ เสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ สัตว์ และพืช หรือกรณีที่ผลิตภัณฑ์อาหารมีคุณภาพไม่ตรงตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย
- เพื่อเอื้อต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการศึกษาด้านระบาดวิทยา (epidemiological) ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขอนามัยมนุษย์ในระยะยาว
- เพื่อให้เกิดวิถีทางในการพิสูจน์ลักษณะและข้อความที่กล่าวอ้างในต้วสินค้า เช่น กล่าวอ้างโดยใช้ข้อความว่า organic หรือ non-GMO ที่สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการจำแนกสินค้าในตลาดได้ โดยมาตรการที่สหภาพยุโรปนำมาบังคับใช้เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ข้างต้น ประกอบด้วย
- ทุกหน่วยธุรกิจจะต้องขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่มีอำนาจ
- ผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดจะต้องนำหมายเลขที่ขั้นทะเบียนไว้ไปใช้ให้สอดคล้องกับ หมายเลขรหัสที่เกี่ยวข้องกับแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น lot number, batch number และรหัสอื่น ๆ ที่เอื้อต่อการตรวจสอบย้อนกลับ
- ต้องมีการบันทึกข้อมูลของทั้งผู้จัดส่งสินค้า และผู้รับสินค้า เพื่อให้สามารถทำการสืบค้นย้อนกลับตัวสินค้าตั้งแต่แหล่งที่มา การจัดส่งสินค้าไปยังปลายทางที่ต่าง ๆ โดยข้อมูลที่บันทึกนั้นจะต้องพร้อมส่งมอบให้แก่หน่วยงานที่มีอำนาจรับผิดชอบ เมื่อหน่วยงานดังกล่าวต้องการ
- ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการอาหารจะต้องจัดทำขั้นตอนการถอนหรือเรียกเก็บสินค้าออกจากท้องตลาด
ระบบการสืบค้นย้อนกลับ (Traceability) ของสหรัฐอเมริกา
ภายใต้บทบัญญัติการคุ้มกันสาธารณสุข และการตอบโต้การก่อการร้ายทางชีวภาพ (Public Health Security and Bioterrorism Response Act) ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์การก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ที่ผู้ก่อการร้ายใช้เครื่องบินถล่มตึกเวิลล์เทรด และใช้อาวุธชีวภาพในรูปสปอร์ของเชื้อโรคแอนแทรกซ์ในช่วงเวลาต่อมา ส่งผลให้ชาวสหรัฐไดัรับอันตรายและความเสียหายเป็นอย่างมาก และรัฐบาลสหรัฐฯ ถือว่าการก่อการร้ายในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการใช้อาวุธชีวภาพ (Bioterrorism) เป็นการคุกคามอย่างแท้จริง และเพื่อเป็นการปกป้องประชาชนจากภัยคุกคามเหล่านี้ จึงมีการใช้มาตรการการตอบโต้และเตรียมรับเหตุการณ์ฉุกเฉินมาตรการหนึ่ง คือ การแก้ไขบทบัญญัติเดิม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันและตรวจหาการก่อการร้ายทางชีวภาพ Puplic Health Security and Bioterrorism Response Act โดยเริ่มยกร่างตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 และประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาได้ลงนามรับร่างกฎหมายเพื่อประกาศใช้กฎหมายแล้ว เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
หนึ่งในข้อกำหนดที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้บังคับใช้ต่อนานาประเทศที่ส่งออกอาหารไปยังสหรัฐฯ คือ ข้อกำหนดด้านการเก็บและตรวจสอบบันทึกเกี่ยวกับอาหาร โดยรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านอาหารจะประสานความ ร่วมมือกัน เพื่อกำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับการเก็บบันทึกของผู้ผลิต แปรรูป บรรจุ ขนส่ง กระจาย รับ เก็บรอ หรือนำเข้าอาหาร ซึ่งอาจจำเป็นในการสืบค้นย้อนกลับแหล่งที่มา และห่วงโซ่การกระจายอาหาร เมื่อเหตุการณ์คุกคามต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงถึงชีวิตมนุษย์และสัตว์