บริการขอใบอนุญาต ชิงโชค

Add Your Heading Text Here

เตรียมตัว ขอใบอนุญาต จับฉลาก จับรางวัล สลาก ชิงโชค

  1. กำหนดวิธีการเล่น
  2. วันที่เริ่มรายการ / วันสิ้นสุดรายการ / วัน เวลา / สถานที่จับรางวัล
  3. รายละเอียดของรางวัล (มูลค่า / จำนวน)

ขั้นตอนการดำเนินงาน ขออนุญาต จับรางวัล ชิงโชค

  1. บริษัทท่านฯ สแกนเอกสารที่ได้จัดเตรียมไว้ ส่งอีเมล์มาที่  [email protected] เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
  2. บริษัทท่านฯ ชำระค่าบริการทั้งหมดให้แก่บริษัท เก็ท พริวิลเลจ จำกัด ตามใบเสนอราคา / ใบยืนยันการรับบริการโดยเช็คสั่งจ่ายหรือโอนเงินเข้าบัญชี (พร้อมจัดทำใบหักภาษี ณ ที่จ่าย)
  3. เก็ท พริวิลเลจ ดำเนินการด้านเอกสาร,ถ้อยคำในการให้ปากคำแล้วส่งให้ท่านตรวจสอบ
  4. เก็ท พริวิลเลจ ส่งแมสเซนเจอร์ไปรับเอกสารตามข้อ 1 และข้อ 2  จากบริษัทของท่าน พร้อมมอบใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีและใบรับฝากเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตไว้เป็นหลักฐาน
  5. เก็ท พริวิลเลจ ดำเนินการยื่นเอกสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีระยะเวลาดำเนินการประมาณ 15 วันทำการ เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจะดำเนินการส่งใบอนุญาตให้แก่บริษัทท่านฯ ทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS)

บริการขอใบอนุญาต จับสลาก ชิงโชค ของเราประกอบด้วย

  • ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการจัดกิจกรรมชิงโชค กติกาการเล่น,เกณฑ์การตัดสิน,วิธีการร่วมสนุกในรูปแบบต่างๆ
  • ให้คำปรึกษาด้านการเช่าตู้ ปณ. การใช้ระบบ SMS การส่งชิ้นส่วน คูปอง และการโพสบน Social และรูปแบบต่างๆ
  • บริการจัดหาของรางวัล ในกลุ่ม แพ็จเกจทัวร์,รีสอร์ท,ทองคำ,โทรศัพท์มือถือ,สมาร์ทโฟน,คอมพิวเตอร์,โน๊ตบุ๊ค และสินค้าไอที ในราคาพิเศษ
  • บริการจัดทำสื่อโฆษณา ทำสปอตโฆษณา ทั้งทีวี วิทยุ สื่อ ออนไลน์ รวมถึงการโปรโมตผ่านระบบ SMS ตามงบประมาณและแผนการตลาดของท่าน
  • บริการจัดหาสถานที่จับรางวัล,อุปกรณ์จับรางวัล, กล่องหรือกะบะจับรางวัล, MC ดำเนินงานและ คนโกย
  • บริการจัดหาสักขีพยาน ตามกรอบและระเบียบของกฏหมาย
  • บริการประกาศรายชื่อผู้โชคดีในสื่อต่างๆ

บริการขอใบอนุญาตทั่วประเทศ

ทั้งนี้ท่านสามารถศึกษาข้อมูลจากบทความนี้ก่อนเพื่อการตัดสินใจในการใช้บริการของเราและเพื่อประโยชน์ของท่านเอง

SMS…แบบที่ไม่ต้องขออนุญาต

สำหรับการทำการตลาดประเภท “ส่ง SMS มาเลยจ๊ะ รับรองได้ของรางวัลทุกคน ไม่ต้องห่วง ไม่มีการสุ่มแจก” แบบนี้ไม่ต้องขออนุญาตเจ้าพนักงานครับ เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ.2534) ของการโฆษณาส่งเสริมการขาย ทั้งนี้ ใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคได้ระบุไว้ว่า ต้องมีการระบุรายละเอียด ดังนี้

  1. ระบุหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขหรือข้อกำหนดในการให้ของแถมหรือให้ประโยชน์ (รวมถึงการแจ้งว่าส่ง SMS ในราคาครั้งละเท่าไหร่ด้วย เช่น 3บาท 5 บาท 10 บาท หรือ 20 บาท)
  2. ระบุวันเดือนปีที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของการจัดให้มีการแถมหรือให้สิทธิหรือประโยชน์
  3. ระบุประเภท ลักษณะและมูลค่าของแถม สิทธิประโยชน์แต่ละสิ่งหรือมูลค่ารวมในแต่ละประเภท เว้นแต่ของแถมหรือสิทธิหรือประโยชน์นั่นเป็นสิ่งมีมูลค่าที่ผู้บริโภคอาจทราบได้โดยทั่วไป จะไม่ระบุมูลค่าก็ได้ เช่นของแจกของแถมประเภทเครื่องอุปโภคบริโภคทั่วไป ไม่ต้องระบุมูลค่าในโฆษณาก็ได้ แต่ถ้าเป็นของที่ไม่มีการซื้อขายกันทั่วไปหรือไม่แพร่หลาย เช่น แจกสร้อยเพชร 1 เรือน หรือกระเป๋าสะพายใบหรู 1 ใบ รถจักรยานยนต์ 1 คัน บ้าน 1 หลัง ฯลฯ ต้องระบุมูลค่าในประกาศโฆษณา
  4. ระบุเขตหรือถิ่นที่จัดให้มีการให้ของแถม ให้สิทธิประโยชน์โดยให้เปล่า
  5. ระบุสถานที่ที่กำหนดให้ผู้บริโภคมารับของแถมหรือสิทธิประโยชน์โดยได้เปล่า

 
การสุ่มแจก,เสี่ยงโชค,จับสลาก ด้วยการส่ง SMS หรือเขียนชื่อ ที่อยู่ ที่ต้องขออนุญาต
สำหรับการมีของรางวัลแจกให้กับผู้ส่ง SMS โดยมีการสุ่มแจก เช่น ทั้งหมดที่ส่งมาแจกบ้านเพียงแค่ 1 หรือรถยนต์ 1 คัน หรือ โทรศัพท์มือถือ 10 เครื่อง แบบนี้ คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาของ ส.ค.บ. ตีความว่าน่าจะเข้าลักษณะการพนัน เพราะผู้ที่ส่ง SMS เข้ามามีการเสี่ยงต่อการเสียประโยชน์ (เช่นอาจจะส่งมา 100 กว่าครั้ง เป็นต้น) ดังนั้นในกรณีสุ่มจับรางวัลจากผู้ที่ส่ง SMS ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการพนันก่อนจึงจะดำเนินการได้
โดยนอกเหนือจากระบุรายละเอียดให้ครบถ้วนตามที่กำหนดตามกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2534) ของการโฆษณาส่งเสริมการขาย ใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เหมือนการส่ง SMS แบบไม่สุ่มแจกแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องปฏิบัติตาม คำสั่งกระทรวงมหาดไทย (ที่ มท.0307.2/ว.2384 ลว. 28 ก.ค. 2548) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้วางระเบียบ ขอบเขตวิธีการรูปแบบการเล่น ผู้มีสิทธิที่จะขออนุญาต และเงื่อนไขที่จะจัดให้มีรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคโดยวิธี ใด ๆ ในการประกอบกิจการค้าหรืออาชีพตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติ การพนัน พุทธศักราช 2478 ที่ใช้เฉพาะวิธี การส่งข้อความSMS หรือทางโทรศัพท์ผ่านระบบเลขหมายต่างๆ หรือวิธีการอื่นใดที่มี ลักษณะคล้ายกันในการทายผลตอบปัญหา หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อชิงรางวัลดังนี้ดังนี้

  1. การจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคโดยวิธีการส่งข้อความ SMS หรือทาง โทรศัพท์ผ่านระบบหมายเลขต่างๆ หรือวิธีอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกันในการทายผลตอบ ปัญหาหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อชิงรางวัลให้ใช้วิธีการเล่นโดยการ พิมพ์หมายเลขของผู้ส่งข้อความที่ร่วมรายการดังกล่าวแล้วนำมาจับสลากตามวันเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต  โดยต้องมีผู้รู้เห็นที่น่าเชื่อถือได้เป็นพยานในการตรวจสอบสลากและการจับสลากด้วยทุกครั้ง ส่วนวิธีการเล่นอย่างอื่นห้ามมิให้อนุญาตโดยเด็ดขาดและให้ ทำรายงานข้อมูลของผู้ที่ได้รับรางวัลแจ้งต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตฯ โดยเร็วและมี ชื่อ– ชื่อสกุล ที่อยู่ของผู้รับรางวัล พร้อมลายมือชื่อของพยานผู้รู้เห็นในการจับสลากด้วยทุกครั้ง
  2. รางวัลสมนาคุณจะต้องระบุไว้ว่า เป็นสิ่งของอะไร ราคาเท่าไร และราคาพอสมควรที่จะให้รางวัลหรือไม่ และห้ามมิให้จ่ายหรือรับเงินแทนของรางวัลตาม ลักษณะข้อจำกัดและเงื่อนไขหลังใบอนุญาต เช่น เงินสด บัญชีเงินฝาก เป็นต้น
  3. กำหนดให้ผู้ที่ได้รับอนุญาต จะต้องแจ้งหรือแสดงข้อความว่าได้รับอนุญาตแล้วตามใบอนุญาตเล่มที่ เลขที่ และสถานที่ออกใบอนุญาตต่อผู้เข้าร่วมเล่นก่อนจัดให้มีการเล่นดังกล่าวในรายการ ที่จัดด้วยทุกครั้ง

อนึ่งหากการจัดดังกล่าวมีเจตนาเพื่อหารายได้จากส่วนแบ่งผลประโยชน์จากการส่ง ข้อความ SMS ฯลฯ หรือเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตพิจารณาแล้วเห็นได้ว่ามีการแบ่งผลประโยชน์จากค่าบริการส่งข้อความ SMS แล้วไม่ว่าอัตราส่วนเท่าไรก็จะไม่เป็นการแถมพก หรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคฯและไม่สามารถอนุญาตได้ตามมาตรา8อีกทั้งไม่สามารถออก ใบอนุญาตเล่นการพนันตามมาตรา4 ได้เนื่องจากไม่มีระบุไว้ในกฎกระทรวง ตามมาตรา4ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการพนันพุทธศักราช 2478

การชิงโชค ชิงรางวัล โดยการส่งชิ้นส่วน คูปอง และการโพสบน Social และจับสลากหาผู้โชคดี

การตีความว่าน่าจะเข้าลักษณะการพนัน ในการจัดกิจกรรม ไม่ว่าจะด้วยการส่งชิ้นส่วน คูปอง ตอบคำถามในรายการ และการโพสบน Social เช่น facebook, instagram หรือรูปแบบต่างๆ ที่มีจำนวนผู้ได้รับของรางวัล แค่บางคน (ไม่ใช่ทุกคน) ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการพนันก่อนจึงจะดำเนินการได้ ยกตัวอย่างจัดกิจกรรม จับสลาก ชิงโชค ลุ้นโชคที่ใช้บริการจาก อารีน่า มีเดีย

แบบที่ไม่ต้องขออนุญาต อาทิเช่น บริษัทฯ หรือของผู้ประกอบการมอบของขวัญหรือสิทธิประโยชน์ให้แก่สมาชิก โดยสมาชิกทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับของรางวัลนั้นโดยเท่าเทียมกัน ยกตัวอย่างเช่น

บริการที่เกียวข้องของ บริษัท อารีน่า มีเดีย จำกัด 

ค่าดำเนินการขอใบอนุญาต

แต่ละท้องถิ่นมีวิธีและขั้นตอนการทำงานไม่เหมือนกัน ราคาในแต่ละที่จึงไม่เท่ากัน ซึ่งทางบริษัท อารีน่า มีเดีย จำกัด คิดค่าบริการที่เป็นธรรม โดยคิดค่าบริการที่ชัดเจน มีหลักฐานการรับเงิน / ใบเสร็จรับเงิน ในทุกๆ ขั้นตอน และค่าบริการของเราไม่ได้คิดจากมูลค่าของของรางวัลหรือจำนวนการจับรางวัลแต่อย่างใด

วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียมใบอนุญาต

  • กิจกรรม 1 วัน (เล่นเช้าจับเย็น)                            ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 300  บาท/ครั้ง
  • กิจกรรมไม่เกิน 7  วัน                                            ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 600  บาท/ครั้ง
  • กิจกรรมเกิน 7  วันแต่ไม่เกิน  1  เดือน                  ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 1,500  บาท/ครั้ง
  • กิจกรรมเกิน 1  เดือนแต่ไม่เกิน  6  เดือน             ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 6,000  บาท/ครั้ง
  • กิจกรรมไม่เกิน 6  เดือนแต่ไม่เกิน  1  ปี                ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 9,000  บาท/ครั้ง

การคำนวณในการพิจารณากำหนดอายุใบอนุญาต ให้เริ่มนับตั้งแต่วันเริ่มเล่นหรือให้มีการส่งชิ้นส่วนชิงโชค คูปอง หรือส่ง SMS เข้ามาชิงโชคจนถึงวันที่มีการจับรางวัล เช่น เริ่มให้ส่งชิ้นส่วน/SMS ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 และจับรางวัลในวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 การคำนวณอายุใบอนุญาตได้ ไม่เกิน 1 เดือนต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 1 ใบ จำนวน 1,500 บาท
กรณีที่ผู้ขออนุญาตจัดรายการโดยที่มีการจับรางวัลหลายครั้งในช่วงระยะเวลาการจัดนั้นควรระบุให้ชัดเจนถึงชิ้นส่วนที่เหลือจากการจับรางวัลในแต่ละครั้งว่าจะนำชิ้นส่วนที่เหลือมารวมจับรางวัลหรือไม่  เช่น
ส่งชิ้นส่วน/SMS ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 โดยที่มีการจับรางวัลในครั้งที่ 1 ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 และมีการจับรางวัลในครั้งที่ 2 อีกในวันที่ 15 มิถุนายน 2557 โดยจะนำชิ้นส่วนที่เหลือจากการจับรางวัลครั้งที่ 1 รวมจับรางวัลในครั้งที่ 2 ด้วยนั้น โดยปกติจะคำนวณค่าธรรมเนียมใบอนุญาตครั้งที่ 1 กิจกรรมเกิน  7  วันแต่ไม่เกิน  1  เดือนค่าธรรมเนียม 1,500 บาท ส่วนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่ 2 จะต้องนับระยะตั้งแต่วันที่  1 พฤษภาคม 2557 จับรางวัลในวันที่ 15 มิถุนายน 2557 ในครั้งที่ 2 เพราะฉะนั้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตครั้งที่ 2 กิจกรรมเกิน  1  เดือนแต่ไม่เกิน  6  เดือนคือ ต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาต จำนวน 6,000 บาท    โดยให้คำนวณ หรือออกใบอนุญาตเท่ากับจำนวนการจับรางวัล ทุกครั้ง
กรณีมีการแยกชิ้นส่วน/SMS ออกเป็น 2 กองชิ้นส่วนหรือหลายกอง เพื่อจับรางวัลจะต้อง ขอใบอนุญาตเท่ากับจำนวนกองชิ้นส่วนที่แยกจับรางวัลด้วย เช่น มีการแยกชิ้นส่วน/SMS เป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อจับรางวัลแยกให้รางวัลแต่ละภาค โดยมีระยะเวลา  เริ่มเล่น และจับรางวัล 1 ครั้งเหมือนกัน ดังนั้น ต้องออกใบอนุญาตเป็นจำนวน 4 ใบ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top